5 สัญญาณที่ที่พ่อแม่ควรรู้ว่า ลูกพูดช้ากว่าปกติ
อัพเดทล่าสุด: 31 ม.ค. 2025
11 ผู้เข้าชม
คุณเคยรู้สึกกังวลใจการพูดของลูกไหมคะ?
เห็นเด็กวัยเดียวกันกับลูกพูดได้คล่องแคล่วแล้ว
แต่ลูกเรายังพูดไม่ชัด หรือพูดน้อยกว่าเพื่อนๆ
ความจริงแล้ว เด็กแต่ละคนมีจังหวะการพูดไม่เหมือนกัน
แต่ก็มีสัญญาณบางอย่างที่พ่อแม่ควรสังเกต
เพื่อช่วยให้ลูกได้รับการดูแลที่เหมาะสมแต่เนิ่นๆ
หมอได้เจอเด็กหลายคนที่มีลักษณะพัฒนาการทางการพูดต่างกัน
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสังเกตสัญญาณเบื้องต้น
เพื่อให้ลูกได้เริ่มการบำบัดที่เหมาะสมเร็วที่สุด
1) คำศัพท์น้อยเกินไป
สำหรับเด็กวัย 2 ขวบ ควรจะเริ่มมีคำศัพท์ในคลังอย่างน้อย
50 คำแล้ว คำที่ควรพูดได้ เช่น เรียกชื่อคนในบ้าน
พูดชื่อของสิ่งของที่เห็นบ่อย ๆ หรือยังแสดงออก
ด้วยการชี้หรือส่งเสียงอย่างเดียว ถ้าพูดแค่ อา อุ อี
นี่อาจเป็นสัญญาณว่าพัฒนาการพูดช้ากว่าวัยที่ควรจะเป็น
2) ไม่สามารถพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ได้
วัย 2-3 ขวบ ควรเริ่มพูดประโยคง่าย ๆ ได้แล้ว
เช่น ไปนอน หรือ กินข้าว เด็กในวัยนี้ควรเริ่ม
เชื่อมคำเป็นวลีสั้น ๆ ได้ หากลูกยังพูดเป็นคำเดี่ยว ๆ อยู่
ลองถามคำถามเชิงชวนพูด เช่น อยากทานข้าวไหม
หรือ ชอบของเล่นชิ้นนี้ไหม ถ้าลูกแค่พยักหน้า
หรือส่งเสียงสั้น ๆ โดยไม่ตอบเป็นคำหรือวลี
พ่อแม่ควรเฝ้าระวังพัฒนาการ อย่างใกล้ชิด
3) พูดไม่ชัดเจน ฟังยาก
เด็กวัย 3-4 ขวบควรพูดได้ชัดเจนพอให้พ่อแม่เข้าใจ
เด็กบางคนอาจพูดเพี้ยนบ้าง เช่น กินข้าว เป็น กินค้าว
หรือ ไปเล่น เป็น ไปเล้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติในวัยนี้
แต่หากลูกยังพูดไม่ชัดเจนจนพ่อแม่และคนใกล้ชิดฟังไม่เข้าใจ
ก็ควรให้ความสำคัญและติดตามพัฒนาการอย่างใกล้ชิด
4) พูดซ้ำ หรือติดอ่าง
ถ้าลูกมีอาการพูดซ้ำ เช่น เริ่มคำด้วย เอ่อ อือ
หรือพูดซ้ำคำเดิม ๆ เช่น หนู หนู หนู ไป ไป ไป
กว่าจะพูดคำถัดไปได้อาจจะต้องหยุดนาน
อาจเป็นสัญญาณว่าลูกมีปัญหาในการเรียบเรียงคำพูด
หรือความต่อเนื่องของประโยคในการสื่อสาร
5) ไม่ตอบสนองเมื่อถูกเรียกหรือถามคำถาม
หากลูกของคุณยังไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ
หรือถามคำถาม เช่น ถามว่า กินข้าวหรือยัง? แต่ลูกไม่หันมา
ไม่ตอบสนอง และไม่แสดงการสื่อสารกลับเลย อาจแสดงท่าทางไม่สนใจ
มองไปที่อื่นตลอดเวลา อาจเป็นการบ่งบอกถึงการพูดช้า
หรือมีปัญหาในด้านการเข้าใจคำพูดเบื้องต้น
พ่อแม่หลายคนอาจกังวลว่า ลูกฉันจะไม่เก่งเหรอ?
แต่จริงๆ แล้ว การสังเกตเห็นสัญญาณเหล่านี้เร็ว
คือการช่วยให้ลูกได้รับโอกาสพัฒนาที่ดีที่สุด
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ของลูก
ควรรีบพาลูกมาประเมินพัฒนาการกับจิตแพทย์เด็ก
และปรับแก้การสื่อการ การพูดกับ นักแก้ไขการพูด
เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ
เด็กที่ได้รับการบำบัดเร็วจะมีโอกาสพัฒนาได้ดีกว่าแน่นอนค่ะ
อย่ารอและปล่อยให้ปัญหาการสื่อสารกระทบลูกนะคะ
ลองทักมาสอบถามเพิ่มเติมได้กับ Child Space Clinic
เราพร้อมช่วยเสริมพัฒนาการการสื่อสารให้ลูกน้อยอย่างเต็มที่
เห็นเด็กวัยเดียวกันกับลูกพูดได้คล่องแคล่วแล้ว
แต่ลูกเรายังพูดไม่ชัด หรือพูดน้อยกว่าเพื่อนๆ
ความจริงแล้ว เด็กแต่ละคนมีจังหวะการพูดไม่เหมือนกัน
แต่ก็มีสัญญาณบางอย่างที่พ่อแม่ควรสังเกต
เพื่อช่วยให้ลูกได้รับการดูแลที่เหมาะสมแต่เนิ่นๆ
หมอได้เจอเด็กหลายคนที่มีลักษณะพัฒนาการทางการพูดต่างกัน
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสังเกตสัญญาณเบื้องต้น
เพื่อให้ลูกได้เริ่มการบำบัดที่เหมาะสมเร็วที่สุด
5 พฤติกรรม เบื้องต้นที่พ่อแม่ควรสังเกต
เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า
ลูกกำลังมีพัฒนาการด้านการพูดล่าช้ากว่าปกติ
1) คำศัพท์น้อยเกินไป
สำหรับเด็กวัย 2 ขวบ ควรจะเริ่มมีคำศัพท์ในคลังอย่างน้อย
50 คำแล้ว คำที่ควรพูดได้ เช่น เรียกชื่อคนในบ้าน
พูดชื่อของสิ่งของที่เห็นบ่อย ๆ หรือยังแสดงออก
ด้วยการชี้หรือส่งเสียงอย่างเดียว ถ้าพูดแค่ อา อุ อี
นี่อาจเป็นสัญญาณว่าพัฒนาการพูดช้ากว่าวัยที่ควรจะเป็น
2) ไม่สามารถพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ได้
วัย 2-3 ขวบ ควรเริ่มพูดประโยคง่าย ๆ ได้แล้ว
เช่น ไปนอน หรือ กินข้าว เด็กในวัยนี้ควรเริ่ม
เชื่อมคำเป็นวลีสั้น ๆ ได้ หากลูกยังพูดเป็นคำเดี่ยว ๆ อยู่
ลองถามคำถามเชิงชวนพูด เช่น อยากทานข้าวไหม
หรือ ชอบของเล่นชิ้นนี้ไหม ถ้าลูกแค่พยักหน้า
หรือส่งเสียงสั้น ๆ โดยไม่ตอบเป็นคำหรือวลี
พ่อแม่ควรเฝ้าระวังพัฒนาการ อย่างใกล้ชิด
3) พูดไม่ชัดเจน ฟังยาก
เด็กวัย 3-4 ขวบควรพูดได้ชัดเจนพอให้พ่อแม่เข้าใจ
เด็กบางคนอาจพูดเพี้ยนบ้าง เช่น กินข้าว เป็น กินค้าว
หรือ ไปเล่น เป็น ไปเล้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติในวัยนี้
แต่หากลูกยังพูดไม่ชัดเจนจนพ่อแม่และคนใกล้ชิดฟังไม่เข้าใจ
ก็ควรให้ความสำคัญและติดตามพัฒนาการอย่างใกล้ชิด
4) พูดซ้ำ หรือติดอ่าง
ถ้าลูกมีอาการพูดซ้ำ เช่น เริ่มคำด้วย เอ่อ อือ
หรือพูดซ้ำคำเดิม ๆ เช่น หนู หนู หนู ไป ไป ไป
กว่าจะพูดคำถัดไปได้อาจจะต้องหยุดนาน
อาจเป็นสัญญาณว่าลูกมีปัญหาในการเรียบเรียงคำพูด
หรือความต่อเนื่องของประโยคในการสื่อสาร
5) ไม่ตอบสนองเมื่อถูกเรียกหรือถามคำถาม
หากลูกของคุณยังไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ
หรือถามคำถาม เช่น ถามว่า กินข้าวหรือยัง? แต่ลูกไม่หันมา
ไม่ตอบสนอง และไม่แสดงการสื่อสารกลับเลย อาจแสดงท่าทางไม่สนใจ
มองไปที่อื่นตลอดเวลา อาจเป็นการบ่งบอกถึงการพูดช้า
หรือมีปัญหาในด้านการเข้าใจคำพูดเบื้องต้น
พ่อแม่หลายคนอาจกังวลว่า ลูกฉันจะไม่เก่งเหรอ?
แต่จริงๆ แล้ว การสังเกตเห็นสัญญาณเหล่านี้เร็ว
คือการช่วยให้ลูกได้รับโอกาสพัฒนาที่ดีที่สุด
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ของลูก
ควรรีบพาลูกมาประเมินพัฒนาการกับจิตแพทย์เด็ก
และปรับแก้การสื่อการ การพูดกับ นักแก้ไขการพูด
เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ นะคะ
เด็กที่ได้รับการบำบัดเร็วจะมีโอกาสพัฒนาได้ดีกว่าแน่นอนค่ะ
อย่ารอและปล่อยให้ปัญหาการสื่อสารกระทบลูกนะคะ
ลองทักมาสอบถามเพิ่มเติมได้กับ Child Space Clinic
เราพร้อมช่วยเสริมพัฒนาการการสื่อสารให้ลูกน้อยอย่างเต็มที่