สัญญาณภาวะออทิสติก ในวัย 2-3 ขวบ ที่พ่อแม่ควรสังเกต
รู้หรือไม่ว่า? ช่วงวัย 2-3 ขวบ เป็นวัยสำคัญ
ที่สัญญาณของออทิสติกมักเริ่มชัดเจนขึ้น
แต่หลายครอบครัวอาจมองข้ามไป
คุณแม่คนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า...
น้องวัย 2 ขวบชอบเล่นคนเดียว
ไม่ค่อยสบตา เวลาเรียกชื่อก็ไม่หันมามอง
แต่ก็คิดว่า "คงเพราะลูกกำลังเล่นสนุก"
จนวันหนึ่ง เพื่อนที่เลี้ยงลูกวัยใกล้กันถามว่า
"น้องพูดได้กี่คำแล้ว?"
คำถามนี้ทำให้เริ่มสังเกตว่า...
ลูกยังพูดได้น้อยกว่าเด็กวัยเดียวกัน
แต่ก็ยังคิดว่า เป็นปกติของเด็กวัยนี้
แค่พัฒนาช้ากว่าเด็กคนอื่นนิดหน่อย"
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่เห็น
เป็นเรื่องปกติหรือสัญญาณที่ควรใส่ใจ?
มาลองสังเกตพฤติกรรมของลูกน้อยไปด้วยกันค่ะ
สัญญาณที่ควรสังเกตในวัย 2-3 ขวบ
1) ไม่สบตา หรือตอบสนองช้าต่อการเรียกชื่อ
ลูกอาจดูเหมือนอยู่ในโลกของตัวเอง
ไม่สนใจการเรียกหรือพูดคุย
2) ไม่พูดคำง่ายๆ หรือไม่พูดตามคำที่พ่อแม่สอน
ในวัยนี้ เด็กควรพูดคำศัพท์ง่ายๆ ได้และเริ่มสื่อสารเป็นคำสั้นๆ
3) ชอบเล่นซ้ำ ๆ กับสิ่งของเดิม
และไม่สนใจการเล่นกับเพื่อนหรือครอบครัว
เช่น หมุนล้อรถเล่นซ้ำๆ แต่ไม่ยอมเล่นกับคนอื่น
4) แสดงพฤติกรรมเดิมซ้ำๆ เช่น เดินเขย่ง หมุนตัว กอดอก
5) ตอบสนองช้าหรือไม่มีปฏิกิริยากับสิ่งรอบตัว
ทำไมต้องสังเกตตั้งแต่วัยนี้?
ช่วงวัย 2-3 ขวบเปรียบเหมือน "หน้าต่างแห่งโอกาส"
ที่สมองของเด็กกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว
หากพบความผิดปกติเร็ว =เพิ่มโอกาสช่วยเหลือให้ลูก
พัฒนาทักษะต่างๆ ได้ใกล้เคียงเด็กวัยเดียวกัน
การพบแพทย์เพื่อประเมินไม่ได้หมายความว่า
ลูกจะเป็นออทิสติกเสมอไปแต่เป็นโอกาส
ที่เราจะได้รู้จักและเข้าใจพัฒนาการของลูกมากขึ้น
เราทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ
ทั้งนักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด
นักแก้ไขการพูด และครูการศึกษาพิเศษ
ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเสริมพัฒนาการลูกในทุกด้าน
อย่ารอให้เวลาผ่านไป รีบปรึกษาเราเพื่อลดความเสี่ยง
และเพิ่มโอกาสการพัฒนาที่ดีที่สุดให้ลูกของคุณ
แค่สงสัย ก็ปรึกษาได้ เพราะทุกพัฒนาการของลูก
มีค่าเกินกว่าจะรอ