แชร์

อาการโรคซึมเศร้า ระยะแรก

อัพเดทล่าสุด: 29 มิ.ย. 2024
459 ผู้เข้าชม
อาการโรคซึมเศร้า ระยะแรก

โรคซึมเศร้า หรือ อาการซึมเศร้าเรื้อรัง เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยและเป็นที่สนใจของสังคมด้วยเช่นกัน ซึ่งที่มาของโรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุแตกต่างกันออกไป 

ในปัจจุบันการเข้าถึงแหล่งข้อมูล และการประชาสัมพันธ์ของโรคถือว่าดีขึ้นมาก ทำให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการตรวจและรักษาอาการเหล่านี้ยิ่งเร็วขึ้น ยิ่งเป็นสิ่งที่ดีต่อผู้ป่วยด้วย


วันนี้ SMIND Mental Health Clinic  อยากพาทุกคนมาลองประเมินตนเองว่าคุณมีอาการเสี่ยงหรืออาจกำลังเป็น โรคซึมเศร้าระยะแรก อยู่หรือเปล่า


โรคซึมเศร้าระยะแรก คืออะไร

จุดเริ่มต้นของโรคซึมเศร้าส่วนมากมาจากความเครียดและปัญหาต่างๆ ที่เกิดกับตัวผู้ป่วย ไม่ว่าจะจากทั้งเรื่องงานหรือความสัมพันธ์ และจะเริ่มส่งผลกระทบกับสุขภาพจิต ซึ่งส่วนมากเป็นปัญหาเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้ นอกจากนี้ยังเป็นผลกระทบจากการพักผ่อนไม่เพียงพออีกด้วย หลายท่านอาจเคยชินกับกิจวัตรประจำวันแบบเดิมๆ จนทำให้โรคซึมเศร้าระยะแรกถูกมองข้ามไป


ลักษณะอาการโรคซึมเศร้าระยะแรก


โดยทั่วไป สำหรับผู้ป่วยซึมเศร้าในระยะแรกนั้นจะมีอาการดังนี้


1. มีความรู้สึกเครียด เศร้า และเหงา ในระดับที่เริ่มใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุขในแต่ละวัน

2. มีอาการนอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิทหรือมีเรื่องคิดในหัวตลอดเวลาพักผ่อน

3. เริ่มรู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า มีความคิดเรื่องเหล่านี้แวบเข้ามารบกวนบ้าง

4. เริ่มรู้สึกไม่มีสมาธิ ไม่สามารถโฟกัสในกิจกรรมต่างๆ ได้นานพอ 


4 สัญญาณเหล่านี้คืออาการของผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยซึมเศร้าในระยะแรก โดยหากมีอาการเหล่านี้ ที่อาจเป็นพร้อมกันหรือสลับกันต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์ขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจประเมินอาการกับจิตแพทย์ทันที




ความอันตรายของโรคซึมเศร้าระยะแรก


โดยทั่วไปโรคซึมเศร้าระยะแรกยังไม่อันตรายมาก แต่เป็นเสมือนสัญญาณเตือนของโรคที่อาจจะพัฒนาไปสู่ระยะที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งในระยะนี้เป็นตัวสำคัญที่ผู้ป่วยมักจะมองข้ามและคิดว่าไม่เป็นปัญหา ดังนั้นหากคุณหรือคนรอบข้างมีอาการเหล่านี้ ขอแนะนำให้หมั่นสังเกตระยะเวลาของอาการที่เกิดขึ้น และไม่ควรฝืนในการต้องดำเนินชีวิตประจำวัน 


มีความเสี่ยงโรคซึมเศร้าแบบไหนที่ควรพบจิตแพทย์

สำหรับผู้ที่มีอาการตามที่กล่าวมา หากมีอาการเกินกว่า 2 สัปดาห์ หรือ เริ่มรู้สึกว่าส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรพบจิตแพทย์เพื่อตรวจสอบวินิจฉัย หากพบเร็ว รักษาเร็วก็หายได้ไวและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง
"อารมณ์แปรปรวน" ก่อนมีประจำเดือน  อันตรายมั้ย แค่ไหนที่เรียกว่าผิดปกติ 
"อารมณ์แปรปรวน" ก่อนมีประจำเดือนอันตรายมั้ย แค่ไหนที่เรียกว่าผิดปกติ
4 ต.ค. 2024
6 สาเหตุหลักความเครียด ของผู้ดูแล ผู้ป่วยซึมเศร้า ขั้นรุนแรง
นอกเหนือจากตัวผู้ป่วยซึมเศร้าขั้นรุนแรง "ผู้ดูแล" ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงที่เกิดความเครียด วิตกกังวลต่อการต่อการดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าด้วยเช่นกัน 6 สาเหตุหลักที่นำไปสู่ความเครียดมีอะไรบ้าง เรามาทำความเข้าใจไปด้วยกัน
29 มิ.ย. 2024
หากป่วย เป็นโรคซึมเศร้า ชนิดเรื้อรัง ต้องทำอย่างไรบ้าง
โรคซึมเศร้าเป็นอาการที่หลายคนคุ้นเคยกันมาบ้างแล้ว แต่ยังมีอีกหลากหลายมุมมองและความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นได้ เรามาดูกันว่าหากเป็นโรคซึมเศร้า ชนิดเรื้อรัง ต้องทำอย่างไร
29 มิ.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy