Trauma ปมในใจที่ซ่อนอยู่ ประตูสู่โรคทางจิตเวช
อัพเดทล่าสุด: 31 ม.ค. 2025
16 ผู้เข้าชม
ซึมเศร้าดีขึ้นแล้ว
แต่ทำไมกลับมาเป็นอีก?
อาจเกิดจาก "ปมในใจ"
ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง
ปมในใจ เหมือนแผลที่ยังไม่หายสนิท
เมื่อมีสิ่งกระตุ้น จะส่งผลรบกวนปัจจุบัน
แล้วจะสังเกตอย่างไรว่ามีปมในใจ?
หมอมีวิธีง่ายๆ ลองเช็คกันตามได้นะครับ
- รู้สึกกลัวหรือกังวลอย่างไม่มีเหตุผล
คุณอาจรู้สึกกังวลหรือกลัวในสถานการณ์ที่ดูธรรมดา
ซึ่งอาจเป็นผลจากประสบการณ์ในอดีตที่ฝังใจ - การหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือคนบางคน
ที่ทำให้คุณไม่สบายใจ อาจเป็นเพราะ
ปมในใจที่ยังไม่ได้รับการสำรวจ - ความรู้สึกเศร้าหรือท้อแท้เมื่อคิดถึงเรื่องในอดีต
นี่อาจเป็นสัญญาณว่าปมในใจนั้นยังคงมีผลต่อคุณอยู่ - ฝันร้ายถึงเรื่องเดิมๆ
เป็นสิ่งที่บอกว่าเรื่องเดิมยังไม่จางหายไปจากความทรงจำ - ตัดสินใจผิดพลาดเรื่องเดิมซ้ำๆ
ปมในใจส่งผลต่อวิธีคิดและมุมมองต่อเรื่องต่างๆ
มีผลให้เราผิดซ้ำๆ เจ็บซ้ำๆ ได้
ปมในใจสามารถเป็นสาเหตุของโรคทางจิตเวชได้หลายอย่าง
และยังเป็นสิ่งที่มักจะถูก มองข้าม บ่อยๆ ในการรักษา
ทำให้การรักษาไม่ดีเท่าที่ควร
หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้
อย่ารอช้าที่จะมาพบจิตแพทย์ที่ SMIND Clinic
เรามีทีมจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญ
ช่วยให้คุณปลดล็อกปมในใจ และใช้ชีวิตได้ดีขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง
แพนิครักษาให้หายได้ 2 วิธีหลักในการรักษาโรคแพนิค ที่ SMIND Clinic แก้ไขจากต้นเหตุ ฟื้นฟูสุขภาพใจให้แข็งแรง และลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ
4 ก.พ. 2025
โรคซึมเศร้ารักษาให้หายขาดได้หรือไม่? จิตแพทย์แนะนำแนวทางการรักษาซึมเศร้า ทั้งการใช้ยา จิตบำบัด และการดูแลตัวเอง ให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
4 ก.พ. 2025
หากคุณมีอาการแพนิค อย่าทำ 4 พฤติกรรมนี้เด็ดขาด! แม้การเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงจะช่วยได้ แต่การรักษาที่ต้นเหตุ เช่น การบำบัดและการปรับวิธีคิด คือกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูจิตใจให้แข็งแรงขึ้น
31 ม.ค. 2025