แชร์

วิธีรับมือ วิธีรักษาโรคแพนิค ด้วยตัวเอง

อัพเดทล่าสุด: 29 มิ.ย. 2024
140 ผู้เข้าชม
วิธีรับมือ วิธีรักษาโรคแพนิค ด้วยตัวเอง

หลังจากทำความรู้จักโรคแพนนิค (Panic Disorder) กันไปแล้วนะครับ วันนี้เราจะมาเตรียมตัวรับมือ สังเกตอาการและเตรียมความพร้อมหากวันหนึ่ง อาการแพนิคกำเริบ ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกับตัวคุณเอง หรือ คนรอบข้าง เราจะได้มีความรู้ ความเข้าใจ และ มีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี การรับมือโรคแพนิค จะมีอะไรบ้างนั้น มาติดตามกันครับ



จะรู้ได้อย่างไรว่า โรคแพนิค กำเริบ /เริ่มมีอาการแพนิค

โดยทั่วไปคนจะมีอาการสับการระหว่าง อาการตกใจ และ โรคแพนิค ซึ่งจาก 10 อาการของผู้ที่เป็นโรคแพนิค ที่ตรวจพบได้นั้น มักจะมีความแตกต่างชัดเจนคือ มีหลายอาการซ้อนทับกัน (มากกว่า 4 อาการ) เช่น 

- มีความรู้สึกกลัว วิตกกังวล กระวนกระวายใจ ตื่นตระหนกตกใจขึ้นมาทันทีทันใดโดยไม่มีสาเหตุ 

- เกิดความรู้สึกกลัวและวิตกกังวลว่าจะมีอาการขึ้นอีก 

- รู้สึกอ่อนแรง ตัวเบาหวิว วูบวาบจะเป็นลม 

- เหงื่อออก ตัวสั่น รู้สึกเย็น หรือ ชาตามมือและเท้า


โดยที่อาการเหล่านี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ทำให้ใช้ชีวิตอย่างยากลำบากมากขึ้น ในขณะที่อาการตกใจนั้น จะเกิดขึ้นชั่วคราว จากเหตุการณ์หรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดความตกใจ เช่น เสียงดัง การอยู่ที่แคบ หรืออื่นๆ และจะหายไปได้เอง ในเวลาอันสั้น



3 วิธี รักษาตัวเอง เมื่อโรคแพนิคกำเริบ 


เมื่อมีอาการแพนิค ต้องทำอย่างไร? เราจะมาบอกวิธีการในการรับมือเมื่อโรคแพนิคกำเริบ 

ด้วย 3 Steps สำหรับรับมืออาการแพนิคด้วยตนเอง


1) หากกำลังเผชิญหน้ากับแพนิค ให้หยุด ! ทำกิจกรรมต่าง ๆ แล้วหายใจเข้าลึก ๆ อย่างช้า พยายามควบคุมการหายใจ ดึงตัวเองให้กลับมาอยู่ในปัจจุบัน 


2) หลังจากนั้นให้ค่อย ๆ บอกตัวเอง เพื่อดึงสติโดยการใช้วิธีพูดออกเสียง

2.1) ไม่เป็นไร.เดี๋ยวอีกหน่อยอาการก็เบาลง (สายใจเย็น)

2.2) มาแล้วสินะ ! .ฉันรู้ทันเธอนะเจ้าแพนิค (สายพร้อมสู้)


3) ทำใจให้สบาย ผ่อนคลายอารมณ์ไปพร้อมกับการหายใจ พร้อมบอกกับตัวเองว่า ความรู้สึก เกิดขึ้นเองได้ และหายไปได้ เพื่อเป็นการดึงสติให้เรากลับมาอยู่ในปัจจุบัน


หลังจากนั้น ค่อยๆ นั่งพักจนกว่าร่างกายจะกลับสู่สภาวะปกติ และการรับรู้ หรือ ประสาทสัมผัสต่างๆ จะทำงานได้อย่างปกติดีอีกครั้งนะครับ



5 พฤติกรรมที่ควรเลี่ยงเมื่อเกิด โรคแพนิค


ในส่วนของพฤติกรรม ที่ควรเลี่ยง เมื่อเป็นโรคแพนิคนั้นพบได้ทั่วไปและมีหลากหลายสาเหตุ แต่พฤติกรรมที่อยู่ในชีวิตประจำวันและพบได้บ่อย ซึ่งเราอยากแนะนำให้ทุกท่านได้ระวัง หลีกเลี่ยงการทำ 5 พฤติกรรมเหล่านี้


1) การใช้ชีวิตในแต่ละวัน ด้วยความตื่นตระหนก เร่งรีบในทุกอย่าง

2) การกินอาหาร หรือ พักผ่อนไม่เป็นเวลาและ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

3) การเล่นการพนัน หรือ ใช้สารเสพติด

4) การใช้เวลากับหน้าจอคอมพิมเตอร์ หรือ โทรศัพท์มือถือ มากจนไป

5) การเสพเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ และ บุหรี่


พฤติกรรมเหล่านี้นอกจากจะเป็นสิ่งไม่ดีกับร่างกายแล้ว ยิ่งส่งผลเสียและเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคแพนิคอีกด้วย



หากอาการที่กล่าวมา และ วิธีการรักษาที่แนะนำนั้นยังไม่เพียงพอต่อการจัดการโรคแพนิคที่คุณเป็น นั้นอาจเป็นสัญญาณสำคัญ ของการควรเร่งเข้ามาพบจิตแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและประเมินอาการ เพื่อรับการรักษาอย่างใกล้ชิดและถูกวิธีนะครับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy