แชร์

กรดไหลย้อนหรือแพนิคกันแน่

อัพเดทล่าสุด: 24 ม.ค. 2025
23 ผู้เข้าชม
แน่นหน้าอก ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม...
นี่เป็นอาการกรดไหลย้อน หรือแพนิคกันแน่?

อาการแบบนี้ใครเจอก็คงสับสน 

เพราะมันคล้ายกันจนแยกไม่ออก
บางทีตรวจร่างกายแล้วก็ปกติดี 


แต่ทำไมยังมีอาการบ่อย ๆ?
วันนี้เรามาทำความเข้าใจความต่างของสองภาวะนี้กัน
เพื่อจะได้ดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีครับ 


อาการกรดไหลย้อน สังเกตง่าย ๆ

แสบร้อนกลางอกหลังทานอาหาร
รู้สึกแสบร้อนลามจากลิ้นปี่ไปถึงคอ 

คล้ายมีไฟอยู่ในอก 

รู้สึกเปรี้ยวหรือขมในปาก
โดยเฉพาะหลังทานอิ่ม หรืออาจมีอาหารไหลย้อนขึ้นมาในคอ

แน่นท้อง จุกเสียดลิ้นปี่
อาการแน่นเหมือนมีอะไรมากดไว้ ทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง

เสียงแหบและไอเรื้อรัง
มักมีอาการไอแห้ง ๆ หรือเสียงแหบหลังตื่นนอน หรือหลังมื้ออาหาร


อาการแพนิคที่ควรสังเกต

ใจสั่นและหายใจไม่อิ่ม
รู้สึกว่าใจเต้นแรงผิดปกติ คล้ายวิ่งมาไกล ๆ 

แม้จะอยู่เฉย ๆ และรู้สึกหายใจเข้าไม่เต็มปอด

มือสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น
เกิดเหงื่อซึมที่ฝ่ามือ รู้สึกมือสั่นโดยไม่มีสาเหตุ

ปั่นป่วนในท้อง คล้ายจะเป็นลม
ท้องไส้ปั่นป่วน รู้สึกเหมือนตัวลอยหรือเซ คล้ายจะวูบหมดแรง

ความกลัวกะทันหัน
รู้สึกกลัวสิ่งที่ไม่มีเหตุผลชัดเจน 

บางครั้งกลัวว่าจะตายหรือควบคุมตัวเองไม่ได้


 ลองแยกอาการเบื้องต้น ด้วยคำถามเหล่านี้

หลังทานอาหารแล้วรู้สึกแน่นอกหรือเปล่า ?
ถ้าใช่... อาจเป็นกรดไหลย้อน

ใจสั่นแต่ไม่ได้เกี่ยวกับเวลาอาหาร ?
ถ้าใช่... มีโอกาสเป็นอาการแพนิค

รู้สึกปั่นป่วนท้อง แต่ไม่เกี่ยวกับอาหารเลย ?
ถ้าใช่... อาจมาจากความเครียดหรือภาวะแพนิค



แม้ทั้งสองโรคจะมีสาเหตุที่แตกต่างกัน 

แต่บางครั้งกรดไหลย้อนก็สามารถกระตุ้น

ความกังวลจนเกิดอาการแพนิคตามมาได้

การแยกอาการที่ชัดเจนช่วยให้คุณ

ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและตรงจุด


หากไปตรวจแล้วไม่พบว่าเป็นกรดไหลย้อน...

อย่าละเลยอาการของตัวเองนะคะ

ลองเข้ามาประเมินอาการ กับจิตแพทย์ที่ SMIND Clinic

ที่นี่ เราพร้อมดูแลคุณด้วยความเข้าใจ

และช่วยวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง
2 วิธีในการรักษาโรคแพนิค ที่ SMIND Clinic
แพนิครักษาให้หายได้ 2 วิธีหลักในการรักษาโรคแพนิค ที่ SMIND Clinic แก้ไขจากต้นเหตุ ฟื้นฟูสุขภาพใจให้แข็งแรง และลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ
4 ก.พ. 2025
Trauma ปมในใจที่ซ่อนอยู่ ประตูสู่โรคทางจิตเวช
ปมในใจที่ซ่อนอยู่ อาจเป็นสาเหตุสำคัญของโรคทางจิตเวชโดยไม่รู้ตัว มาลองเช็กตัวเองกันว่าเรากำลังมีปมภายในใจซ่อนอยู่รึเปล่า จะได้ไม่มองข้ามปัญหาในใจไป
31 ม.ค. 2025
เป็นโรคแพนิค อย่าทำ 4 พฤติกรรมนี้เด็ดขาด
หากคุณมีอาการแพนิค อย่าทำ 4 พฤติกรรมนี้เด็ดขาด! แม้การเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงจะช่วยได้ แต่การรักษาที่ต้นเหตุ เช่น การบำบัดและการปรับวิธีคิด คือกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูจิตใจให้แข็งแรงขึ้น
31 ม.ค. 2025
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy